กลอน 9 ของ กลอนสุภาพ

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 9 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย[2] เช่นเดียวกัน แต่กวีไม่ค่อยนิยมแต่งกันมากนัก เนื่องจากเห็นว่ากลอนแปดลงตัวมากที่สุด

คณะ กลอนเก้า บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 9 คำ ตามผัง

O O O O O O O O OO O O O O O O O O
O O O O O O O O OO O O O O O O O O

สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่หรือคำที่ห้า หรือระหว่างคำที่หกกับคำที่เจ็ดหรือคำที่แปดของแต่ละวรรค

ตัวอย่างกลอน 9
นายชายพรานหนึ่งชาญไพรล่ำใหญ่ขยับได้ยินกลองเดิรย่องกลับดูขับขัน
มือป้องหน้ามุ่งป่าแน่วแนวแถววันสุนัขย่องสุดมองขยันติดพันตาม
มุ่งปะทะมาปะที่คนตีกลองเพื่อนทักจ๋าพูดหน้าจ้องพรานร้องถาม
เดิมแรกหูได้รู้เหตุสังเกตความว่าทรงนามว่าทรามนาฎนิราศจร
กลบทระลอกแก้วกระทบฝั่ง, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปรีชา (เซ่ง)

กวีที่นิยมใช้กลอนเก้า คือท่านพุทธทาสภิกขุ และท่านยังนิยมเขียนแยกตามจังหวะอ่าน ทำให้คนอ่านได้ถูกต้องตามจังหวะ อ่านง่ายและเข้าใจง่าย

ตัวอย่าง
ศีลธรรมเลว คนก็ได้ กลายเป็นผีหาความดี ไม่ประจักษ์ สักเส้นขน
ศีลธรรมดี ผีก็ได้ กลายเป็นคนที่เลิศล้น ภูมิใจ ไหว้ตัวเอง
ศีลธรรมต่ำ เปลี่ยนคน จนคล้ายสัตว์จะกินกัด โกงกัน ขมันเขม็ง
ศีลธรรมสูง คนสดใส ไม่อลเวงล้วนยำเกรง กันและกัน ฉันเพื่อนตาย
ศีลธรรมกับคน : พุทธทาสภิกขุ